วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดอกไม้ประจำจังหวัด (Provincial flower)

ดอกทุ้งฟ้า
ดอกไม้ประจำจังหวัดกระบี่



ชื่อวิทยาศาสตร์             

Alstonia macrophylla Wall.

วงศ์

APOCYNACEAE

ชื่ออื่น

ทุ้งฟ้าไก่, ตีนเทียน, พวมพร้าว

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีขาวอมเทา มีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีขาว ดอกออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง จำนวนมาก กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกระหว่าง เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เป็นไม้ที่ต้องการความชื้นมาก เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำได้ดี

ถิ่นกำเนิด

ป่าดงดิบ ภาคใต้


ดอกกาญจนิกา
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี-ดอกกาญจนิกา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กาญจนบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกกาญจนิกา

ชื่อสามัญ

Night Flower Jasmin

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nyctathes arbotristis

วงศ์

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้พุ่มยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 15 เมตร ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ สลับกันไปตามข้อของต้น สีเขียวมีขนอ่อนๆ ออกดอกเป็นช่อ ตามส่วนยอดและโคนก้านใบ แต่ละช่อมีดอกประมาณ 5-8 ดอก ดอกสีขาวมี 6 กลีบ กลีบดอกจะบิดเวียนไปทางขวางคล้ายกังหัน ปลายกลีบเหมือนหางปลา วงในดอกเป็นสีแดงแสด หลอดดอกสีแง เกสรเป็นเส้นเล็กละเอียดซ้อนอยู่ในหลอดดอก มีกลิ่นหอม บานกลางคืน ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด ตอนกิ่ง และปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุยระบายน้ำได้ดี ความชื้นปานกลาง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย

ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง

ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์,พัทลุง-ดอกพะยอม

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กาฬสินธุ์, พัทลุง

ชื่อดอกไม้

ดอกพะยอม

ชื่อสามัญ

Shorea white Meranti

ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea talura Roxb.

วงศ์

DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น

กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)

ลักษณะทั่วไป

พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

ถิ่นกำเนิด

พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย

ดอกพิกุล
ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร,ยะลา,ลพบุรี-ดอกพิกุล

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกพิกุล

ชื่อสามัญ

Bullet Wood, Spanish Cherry

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi Linn.

วงศ์

SAPOTACEAE

ชื่ออื่น

กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)

ลักษณะทั่วไป

พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น, นครศรีธรรมราช

ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น,นครศรีธรรมราช-ดอกราชพฤกษ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช

ชื่อดอกไม้

ดอกราชพฤกษ์

ชื่อสามัญ

Golden Shower Tree, Purging Cassia

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassis fistula Linn.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

คูน(อีสาน), ลมแล้ง(ภาคเหนือ), ลักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี), อ้อดิบ(ภาคใต้), กุเพยะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์(ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 12–15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และ รอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 4–8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ

ดอกเหลืองจันทบูร
ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัดจันทบุรี-ดอกเหลืองจันทบูร

ดอกไม้ประจำจังหวัด

จันทบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกเหลืองจันทบูร

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrodium friedericksianum Rchb. f.

วงศ์

ORCHIDACEAE

ชื่ออื่น

หวายเหลืองจันทบูร

ลักษณะทั่วไป

เป็นกล้วยไม้ที่มีลำลูกกล้วยลักษณะเป็นโคนเล็กแล้วค่อยโป่งไปทางตอนปลายขนาดลำยาวมาก บางต้นยาวถึง 75 เซนติเมตร เมื่อลำแก่จะเป็นสีเหลืองโดยด้านข้างของลำจะมีใบอยู่ทั้งสองข้าง ออกดอกในเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ช่อดอกออกตามข้อของลำ ออกดอกเป็นช่อๆ ละ 2–4 ดอก กลีบดอกเป็นมัน รอบแรกดอกจะเป็นสีเหลืองอ่อนแล้วจะค่อยๆ เข้มขึ้นจนเป็นสีจำปา ปากสีเข้มกว่ากลีบ ในคอมีสีแต้มเป็นสีเลือดหมู 2 แต้ม ขนาดดอกโตประมาณ 5 เซนติเมตร

การขยายพันธุ์

แยกลำ

สภาพที่เหมาะสม

เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น

ถิ่นกำเนิด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างและภาคตะวันออก

ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา,นนทบุรี,พิษณุโลก-ดอกนนทรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ชื่อดอกไม้

ดอกนนทรี

ชื่อสามัญ

Yellow Flamboyant

ชื่อวิทยาศาสตร์

Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี,ร้อยเอ็ด,ระยอง,อุตรดิตถ์-ดอกประดู่

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ชื่อดอกไม้

ดอกประดู่

ชื่อสามัญ

Angsana, Padauk

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pterocarpus indicus Willd

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

สะโน (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์

ดอกชัยพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยนาท

ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยนาท-ดอกชัยพฤกษ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชัยนาท

ชื่อดอกไม้

ดอกชัยพฤกษ์

ชื่อสามัญ

Javanese Cassia, Rainbow Shower

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassia javanica L.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

ขี้เหล็กยะวา

ลักษณะทั่วไป

ลำต้นสูง 15–25 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก รูปไข่แกมรูปรี ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู โคนคอดเป็นก้านดอกจำนวนมากออกดอกช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทราย ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินโดนีเซีย และแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกกระเจียว
ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ

ดอกไม้ประจำจังหวัดชัยภูมิ-ดอกกระเจียว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชัยภูมิ

ชื่อดอกไม้

ดอกกระเจียว

ชื่อสามัญ

Siam Tulip

ชื่อวิทยาศาสตร์

Curcuma

วงศ์

ZINGIBERACEAE

ชื่ออื่น

กาเตียว (ตะวันออกเฉียงเหนือ), จวด (ใต้), อาวแดง (เหนือ)

ลักษณะทั่วไป

กระเจียว เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าอยู่ในดิน จะพักตัวในฤดูหนาวและร้อน เมื่อถึงฤดูฝนจึงจะเริ่มผลิใบและดอก ใบยาวคล้ายใบพาย ออกใบและดอกพร้อมกัน ต้นสูงประมาณ 2 ฟุต ดอกสีเหลืองในแดง กาบดอกสีม่วง ออกดอกพร้อมกัน

การขยายพันธุ์

แยกหน่อ

สภาพที่เหมาะสม

อากาศชื้นเย็น

ถิ่นกำเนิด

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ตามเขตชายแดนไทย-ลาว และตามเขตชายแดนไทย-เขมร

ดอกพุทธรักษา
ดอกไม้ประจำจังหวัดชุมพร

ดอกไม้ประจำจังหวัดชุมพร-ดอกพุทธรักษา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชุมพร

ชื่อดอกไม้

ดอกพุทธรักษา

ชื่อสามัญ

Butsarana

ชื่อวิทยาศาสตร์

Canna indica Linn.

วงศ์

CANNACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

พุทธรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก เนื้ออ่อนอวบน้ำ ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร มีลำต้นอยู่ใต้ดินเรียกว่า เหง้า เจริญเติบโต โดยแตกหน่อเป็นกอคล้ายกล้วย ใบมีขนาดใหญ่สีเขียวโคนใบและปลายใบรีแหลม ขอบใบเรียบ กลางใบเป็นเส้นนูนเห็นชัด ใบมีก้านใบยาวเป็นกาบใบหุ้มลำต้นซ้อนสลับกัน ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ช่อดอกยาวประมาณ 15–20 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอก 8–10 ดอก และมีกลีบดอกบางนิ่ม ขนาดของดอกและสีสันแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด, แยกหน่อ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัดกลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย

ดอกพวงแสด
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย-ดอกพวงแสด

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เชียงราย

ชื่อดอกไม้

ดอกพวงแสด

ชื่อสามัญ

Orange Trumpet, Flame Flower.

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pyrostegia venusta., Miers.

วงศ์

BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

พวงแสดเป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยที่มีขนาดใหญ่ สามารถเลื้อยเกาะได้ไกลมากกว่า 40 ฟุต เถาอ่อนสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีน้ำตาล ใบเป็นใบประกอบ มี 3 ใบย่อย แต่จะมีบางใบที่เป็นคู่โดยใบย่อยที่สามที่อยู่ตรงกลางจะเปลี่ยนจากใบเป็นมือเกาะ ใบออกสลับกัน สีเขียวเข้ม ก้านใบสั้นเกือบชิดกิ่ง ใบรูปไข่ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบไม่มีจัก ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบ และตามปลายกิ่งส่วนยอดดอกดกจนดูแน่นช่อ มีกลีบรองดอก เป็นรูปถ้วย หรือรูปกระดิ่งหงาย ดอกเป็นรูปทรงกรวย เรียวยาว ปลายดอกจะบานออกเป็น 4 กลีบ เมื่อดอกบานเต็มที่กลีบดอกจะงอโค้งลงข้างล่าง ดอกยาวประมาณ 5–6 เซนติเมตร ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 4 อัน สั้นยาวไม่เท่ากัน สั้น 2 อัน และยาว 2 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน อยู่ตรงกลาง สีตองอ่อน และยาวกว่าเกสรตัวผู้ พวงแสดออกดอกช่วง เดือนธันวาคม–มีนาคม ของทุกปี

การขยายพันธุ์

ปักชำกิ่ง, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วน ไม่ต้องการน้ำมาก แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ประเทศบราซิลและอาเจนตินา

ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่,ลำพูน,อำนาจเจริญ,อุดรธานี-ดอกทองกวาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกทองกวาว

ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)

ลักษณะทั่วไป

ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย

ดอกศรีตรัง
ดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง

ดอกไม้ประจำจังหวัดตรัง-ดอกศรีตรัง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ตรัง

ชื่อดอกไม้

ดอกศรีตรัง

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Jacaranda filicifolia D. Don.

วงศ์

BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น

แคฝอย (กรุงเทพฯ), ศรีตรัง (ตรัง)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 5–10 เมตร เรือนยอดโปร่ง ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกตรงกันข้าม ใบย่อยเล็ก ออกดอกเป็นช่อใหญ่ตามกิ่ง ดอกสีม่วง กลีบดอก 5 กลีบเชื่อมกันเป็นหลอด เมื่อบานเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 ซ.ม. ออกดอกช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดมีปีก

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เป็นไม้ท้องถิ่นของอเมริกาใต้

ดอกกฤษณา
ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด

ดอกไม้ประจำจังหวัดตราด-ดอกกฤษณา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ตราด

ชื่อดอกไม้

ดอกกฤษณา

ชื่อสามัญ

Eagle Wood, Lignum Aloes, Agarwood, Aloe Wood, Calambac, Aglia, Akyaw

ชื่อวิทยาศาสตร์

Aquilaria subintegra Ding Hau

วงศ์

THYMELAEACEAE

ชื่ออื่น

กฤษณา (ภาคตะวันออก), กายูการู กายูกาฮู (มาเลเซีย ปัตตานี), ไม้หอม (ภาคตะวันออก ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ถึงขนาดใหญ่ มีความสูงประมาณ 20-30 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นตรง เรือนยอดเป็นพุ่มทรงเจดีย์ เนื้อไม้มีสีขาว ต้นไม้ชนิดนี้หากมีบาดแผลซึ่งอาจเกิดจากการตัด แมงเจาะใช หรือเป็นโรคจะขับสารชนิดหนึ่งที่อยู่ในลำต้น ออกมาทำหน้าที่ต้านความผิดปกติเหล่านั้น ทำให้บริเวณที่เกิดแผลดังกล่าวเปลี่ยน เป็นสีดำและก่อตัวเป็นผลึก ทำให้เกิดความ แข็งแกร่งของเนื้อไม้ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า กฤษณา มีกลิ่นหอม ความผิดปกติ จะขยายไปเรื่อยๆ ทำให้สีดำมีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งแก่นกฤษณา ที่มีสีดำนั้น ถือว่าเป็นไม้คุณภาพชั้นหนึ่ง มีราคาสูงมาก หากมีสีน้ำตาลเทา คุณภาพจะรองลงมา ถ้ามีสีเหลืองปนดำ ถือว่าเป็นคุณภาพต่ำ ซึ่งไม้กฤษณาเป็นสินค้าที่นำมาทำ หัวน้ำหอม ตลอดจนเครื่องหอมหลายชนิด

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ที่ชุ่มชื้นตามป่าดงดิบชื้นและแล้ง หรือที่ราบใกล้กับแม่น้ำ ลำธาร สามารถขึ้นได้ในที่สูงถึง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลางหรือมากกว่า

ถิ่นกำเนิด

พบในป่าดงดิบของจังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด

ดอกเสี้ยวดอกขาว
ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก, น่าน

ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก,น่าน-ดอกเสี้ยวดอกขาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ตาก, น่าน

ชื่อดอกไม้

ดอกเสี้ยวดอกขาว

ชื่อสามัญ

Orchid Tree, Purple Bauhinia

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia variegata L.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

เสี้ยวป่าดอกขาว

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 5–10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6–10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วง เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, มาเลเซีย

ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก,บุรีรัมย์,สระบุรี,สุพรรณบุรี,อุทัยธานี-ดอกสุพรรณิการ์,ดอกฝ้ายคำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกสุพรรณิการ์

ชื่อสามัญ

Yellow Cotton Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.

วงศ์

BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)

ชื่ออื่น

ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ดอกกันเกรา
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม, สุรินทร์

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม,สุรินทร์-ดอกกันเกรา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครพนม, สุรินทร์

ชื่อดอกไม้

ดอกกันเกรา

ชื่อสามัญ

Anan, Tembusu

ชื่อวิทยาศาสตร์

Fagraea fragrans Roxb.

วงศ์

LOGANIACEAE

ชื่ออื่น

กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย

ดอกสาธร
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครราชสีมา-ดอกสาธร

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครราชสีมา

ชื่อดอกไม้

ดอกสาธร

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Millettia leucantha Kurz

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กระเจาะ ขะเจาะ (ภาคเหนือ), กระพีเขาควาย (ประจวบคีรีขันธ์), กะเชาะ (ภาคกลาง), ขะแมบ คำแมบ (เชียงใหม่), สาธร (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ สูง 18-19 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ค่อนข้างกลมหรือทรงกระบอก เปลือกสีเทาเรียบหรือ แตกเป็นสะเก็ดเล็กๆ ใบเป็นใบประกอบเรียงสลับ ใบย่อยติดเป็นคู่ตรงกันข้าม 3-5 คู่ ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบ ย่อยรูปรี กว้าง 3-5 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบมน ใบและยอดอ่อนมีขนยาว ดอกสีขาว รูปดอกถั่ว สีชมพูอ่อน ออกเป็นช่อตามง่ามใบและปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนมีนาคม-เดือนพฤษภาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วน ต้องการน้ำและความชื้นมาก

ถิ่นกำเนิด


ดอกราชพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น, นครศรีธรรมราช

ดอกไม้ประจำจังหวัดขอนแก่น,นครศรีธรรมราช-ดอกราชพฤกษ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ขอนแก่น, นครศรีธรรมราช

ชื่อดอกไม้

ดอกราชพฤกษ์

ชื่อสามัญ

Golden Shower Tree, Purging Cassia

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassis fistula Linn.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

คูน(อีสาน), ลมแล้ง(ภาคเหนือ), ลักเกลือ ลักเคย(ปัตตานี), อ้อดิบ(ภาคใต้), กุเพยะ(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์(ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 12–15 เมตร ลำต้นสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น และ รอยปมอยู่บริเวณที่เกิดกิ่ง ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านใบ ใบย่อยมีประมาณ 4–8 คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบสีเขียว ออกดอกสีเหลือง เป็นช่อห้อยระย้าตามก้านใบ เวลาออกดอกใบจะร่วง

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ต้องการน้ำน้อยทนแล้ง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอนกลาง ทางใต้ของอเมริกา และออสเตรเลียตอนเหนือ

ดอกเสลา
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครสวรรค์-ดอกเสลา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครสวรรค์

ชื่อดอกไม้

ดอกเสลา

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia loudonii Binn.

วงศ์

LYTHRACEAE

ชื่ออื่น

เกรียบ ตะเกรียบ (ชอง-จันทบุรี), ตะแบกขน (นครราชสีมา), เสลาใบใหญ่ (ทั่วไป), อินทรชิต

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูงได้ถึง 20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือทรงกระบอก หนาทึบ ใบเดี่ยวรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนมน ใบหนา และมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อตามกิ่ง มี 6 กลีบ โคนคอดเป็นก้านสั้น มีหลายสี เช่น ขาว ม่วง ม่วงอมแดงกลีบดอกบาง ยับย่นออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลกลมรี เปลือกแข็ง เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 5–6 พู เมล็ดจำนวนมาก มีปีก

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา,นนทบุรี,พิษณุโลก-ดอกนนทรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ชื่อดอกไม้

ดอกนนทรี

ชื่อสามัญ

Yellow Flamboyant

ชื่อวิทยาศาสตร์

Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

ดอกบานบุรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส

ดอกไม้ประจำจังหวัดนราธิวาส-ดอกบานบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นราธิวาส

ชื่อดอกไม้

ดอกบานบุรี

ชื่อสามัญ

Golden trumpet, Allamanda

ชื่อวิทยาศาสตร์

Allamanda cathartica Linn.

วงศ์

APOCYNACEAE

ชื่ออื่น

บานบุรีหอม, บานบุรีแสด

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้เถาเล็ก ใบยาวกว้างปลายแหลม ดอกคล้ายดอกผักบุ้ง สีม่วง สีเหลือง หรือสีแสดตามพันธุ์ กลิ่นหอมอ่อน ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์

โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

บราซิล และอเมริกาเขตร้อน

ดอกเสี้ยวดอกขาว
ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก, น่าน

ดอกไม้ประจำจังหวัดตาก,น่าน-ดอกเสี้ยวดอกขาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ตาก, น่าน

ชื่อดอกไม้

ดอกเสี้ยวดอกขาว

ชื่อสามัญ

Orchid Tree, Purple Bauhinia

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia variegata L.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

เสี้ยวป่าดอกขาว

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 5–10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม ใบเดี่ยวค่อนข้างกลม ปลายและโคนใบเว้า คล้ายใบแฝดติดกัน ใต้ใบมีขน ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง 6–10 ดอก มี 5 กลีบคล้ายดอกกล้ายไม้มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกตลอดปี ดอกดกช่วง เดือนพฤศจิกายน–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน เมื่อแก่จะแตกเป็น 2 ซีก

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี ความชื้นสูง แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, มาเลเซีย

ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก,บุรีรัมย์,สระบุรี,สุพรรณบุรี,อุทัยธานี-ดอกสุพรรณิการ์,ดอกฝ้ายคำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกสุพรรณิการ์

ชื่อสามัญ

Yellow Cotton Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.

วงศ์

BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)

ชื่ออื่น

ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี,พิจิตร,สุโขทัย,หนองบัวลำภู,อุบลราชธานี-ดอกบัวหลวง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวหลวง

ชื่อสามัญ

Nelumbo nucifera

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nymphaea lotus Linn.

วงศ์

NYMPHACACEAE

ชื่ออื่น

บุณฑริก, สัตตบงกช

ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า

สภาพที่เหมาะสม

ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด

ถิ่นกำเนิด

แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

ดอกเกด
ดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ดอกไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์-ดอกเกด

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ประจวบคีรีขันธ์

ชื่อดอกไม้

ดอกเกด

ชื่อสามัญ

Milkey Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Manilkara hexandra

วงศ์

SAPOTACEAE

ชื่ออื่น

ครินี ไรนี (ฮินดู), เกด (กลาง)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 8-15 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวเข้มเป็นมัน รูปทรงคล้ายรูปหัวใจ ออกดอกเป็นกลุ่ม ตามง่ามใบ ดอกสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม แต่ละดอกมี 18 กลีบ มีกลีบรองดอก 6 กลีบเรียงซ้อนกันเป็น 2 ชั้น ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึง เดือนกรกฎาคม

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ป่าดงดิบแล้ง และป่าชายหาดทางใต้ ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำน้อย

ถิ่นกำเนิด

เอเชีย ประเทศไทยตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ลงไป และตามเกาะต่างๆ

ดอกปีป
ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัดปราจีนบุรี-ดอกปีป

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปราจีนบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกปีป

ชื่อสามัญ

Cork Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Millingtonia hortensis Linn. F.

วงศ์

BIGNONIACEAE

ชื่ออื่น

กาซะลอง กาดสะลอง (ภาคเหนือ), เต็กตองโพ่ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ปีบ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ลำต้นสูงประมาณ 10–20 เมตร เปลือกลำต้นสีเทา ขรุขระ ใบออกเป็นช่อ ลักษณะใบกลมรี ขอบใบเรียบ โคนใบมนใต้ใบเห็นเส้นใบชัดเจน ดอกออกเป็นช่อ ตั้งตรงลักษณะเป็นท่อยาวประมาณ 2–3 นิ้ว สีขาวปนเหลืองขนาด 2 เซนติเมตร ปลายกลีบ ดอกเป็นแฉก 5 แฉก ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อ ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ภายในมีเมล็ดลักษณะแบน

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด และการปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

ไทย, พม่า

ดอกชบา
ดอกไม้ประจำจังหวัดปัตตานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดปัตตานี-ดอกชบา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปัตตานี

ชื่อดอกไม้

ดอกชบา

ชื่อสามัญ

Shoe flower

ชื่อวิทยาศาสตร์

Hibiscus spp.

วงศ์

MALVACEAE

ชื่ออื่น

Hibiscus, Rose of China

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้พุ่มเตี้ย ดอกมีทั้งซ้อน และไม่ซ้อน มีสีต่างๆ กัน เช่น สีแดง สีเหลือง สีขาว สีชมพู สีงาช้าง มีทั้งดอกโต และดอกเล็ก ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมน ขอบใบเป็นรอยหยัก ปลายใบแหลม ชบาเป็นไม้เนื้ออ่อนมีเปลือกไม้ค่อนข้างเหนียว

การขยายพันธุ์

โดยการตอนกิ่ง หรือปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

เขตร้อน จีน, อินเดีย และฮาวาย

ดอกโสน
ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ดอกไม้ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา-ดอกโสน

ดอกไม้ประจำจังหวัด

พระนครศรีอยุธยา

ชื่อดอกไม้

ดอกโสน

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sesbania aculeata

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

โสน, โสนหิน, โสนกินดอก (ภาคกลาง), ผักฮองแฮง (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ล้มลุก เป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นสูงเปราะบางเพราะไม่มีแก่น สูงประมาณ 2–3 เมตร มีกิ่งก้านห่างๆ ใบเล็กฝอยคล้าย กับใบมะขามหรือใบกระถิน ดอกสีเหลืองคล้ายดอกแค แต่ดอกเล็กกว่า มีฝักยาว มีเมล็ดในฝักคล้ายกับถั่วเขียวแต่ฝักยาวกว่า

การขยายพันธุ์

โดยเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ที่ชื้นแฉะ ริมคลอง ริมคูน้ำ

ถิ่นกำเนิด


ดอกจำปูน
ดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา

ดอกไม้ประจำจังหวัดพังงา-ดอกจำปูน

ดอกไม้ประจำจังหวัด

พังงา

ชื่อดอกไม้

ดอกจำปูน

ชื่อสามัญ

Jum-poon

ชื่อวิทยาศาสตร์

Anaxagorea siamensis

วงศ์

ANNONACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ต้นใบและกิ่งคล้ายๆ กระดังงา ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร กิ่งก้านจะเกลี้ยง ลำต้นตรง เปลือกเรียบมีสีเทาคล้ำ ใบสีเขียวเป็นมัน พื้นใบเกลี้ยง ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกตามยอดหรือโคนก้านใบ ลักษณะดอกจะแข็ง มีสีขาวเป็นมัน มี 3 กลีบ เมื่อบานเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว มีกลิ่นหอมแรงตอนกลางวัน

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง แต่เพาะเมล็ดจะได้ผลดีกว่า

สภาพที่เหมาะสม

เป็นไม้กลางแจ้ง ขึ้นได้ในดินทุกชนิด

ถิ่นกำเนิด

ภาคใต้ของประเทศไทย

ดอกพะยอม
ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์, พัทลุง

ดอกไม้ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์,พัทลุง-ดอกพะยอม

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กาฬสินธุ์, พัทลุง

ชื่อดอกไม้

ดอกพะยอม

ชื่อสามัญ

Shorea white Meranti

ชื่อวิทยาศาสตร์

Shorea talura Roxb.

วงศ์

DIPTEROCARPACEAE

ชื่ออื่น

กะยอม (เชียงใหม่), ขะยอม (ลาว), ขะยอมดง พะยอมดง (ภาคเหนือ), แคน (ลาว), เชียง เซี่ยว (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), พะยอม (ภาคกลาง), พะยอมทอง (สุราษฎร์ธานี, ปราจีนบุรี), ยางหยวก (น่าน)

ลักษณะทั่วไป

พะยอมเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 15–20 เมตร ทรงพุ่มกลม ผิวเปลือกสีน้ำหรือเทา เนื้อไม้มีสีเหลืองแข็ง ลำต้นแตกเป็นร่องตามยาวมีสะเก็ดหนา ใบเป็นรูปมนรี ปลายใบแหลม โคนใบสอบมน ขอบใบเรียบ ด้านหลังใบมีเส้นใบชัด ดอกออกเป็นช่อ ใหญ่ส่วนยอดของต้น ดอกมีกลีบ 3 กลีบ โคนกลีบดอกติดกับก้านดอกมีลักษณะกลม กลีบดอกเรียบโค้งเล็กน้อย มีสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอม

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

สภาพดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง สามารถปรับเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก

ถิ่นกำเนิด

พบตามป่าผลัดใบ และป่าดิบ เป็นไม้พื้นเมืองของเอเชีย ไทย, พม่า, มาเลเซีย

ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี,พิจิตร,สุโขทัย,หนองบัวลำภู,อุบลราชธานี-ดอกบัวหลวง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวหลวง

ชื่อสามัญ

Nelumbo nucifera

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nymphaea lotus Linn.

วงศ์

NYMPHACACEAE

ชื่ออื่น

บุณฑริก, สัตตบงกช

ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า

สภาพที่เหมาะสม

ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด

ถิ่นกำเนิด

แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

ดอกนนทรี
ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ดอกไม้ประจำจังหวัดฉะเชิงเทรา,นนทบุรี,พิษณุโลก-ดอกนนทรี

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ฉะเชิงเทรา, นนทบุรี, พิษณุโลก

ชื่อดอกไม้

ดอกนนทรี

ชื่อสามัญ

Yellow Flamboyant

ชื่อวิทยาศาสตร์

Peltophorum pterocarpum (DC.) K. Heyne

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กระถินป่า กระถินแดง (ตราด), นนทรี (ทั่วไป) สารเงิน (แม่ฮ่องสอน)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นทรงพุ่มสูงได้ถึง 25 เมตร กึ่งผลัดใบ เรือนยอดรูปร่ม แผ่กว้าง ใบเป็นใบประกอบขนนกสองชั้นรูปไข่ ออกดอกเป็นช่อตั้งขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ออกดอกในฤดูแล้ง ช่วง เดือนมีนาคม-มิถุนายน

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียเขตร้อน

ดอกยมหิน
ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่

ดอกไม้ประจำจังหวัดแพร่-ดอกยมหิน

ดอกไม้ประจำจังหวัด

แพร่

ชื่อดอกไม้

ดอกยมหิน

ชื่อสามัญ

Almond-wood, Chickrassy Chittagong-wood

ชื่อวิทยาศาสตร์

Chukrasia velutina Roem.

วงศ์

MELIACEAE

ชื่ออื่น

โค้โย่ง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ช้ากะเดา (ใต้), ยมขาว (เหนือ), ยมหิน มะเฟืองต้น สะเดาช้าง สะเดาหิน (กลาง), ริ้งบ้าง รี (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), เสียดค่าย (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็ว เรือนยอดเป็นพุ่มรูปกรวยต่ำ เปลือกสีน้ำตาลคล้ำ สีเทาหรือ เทาปนดำ แตกเป็นร่องลึกตามยาวของลำต้น ใบเป็นใบประกอบออกเยื้องกันเล็กน้อย แผ่นใบรูปดาบ ท้องใบมีขนนุ่ม หลังใบ เกลี้ยง ดอกขนาดเล็ก สีเขียวแกมเหลือง ออกเป็นช่อตามปลายกิ่ง ออกดอกระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เป็นไม้กลางแจ้ง เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ป่าเบญจพรรณแล้งและชื้นทั่วไป

ดอกเฟื่องฟ้า
ดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต

ดอกไม้ประจำจังหวัดภูเก็ต-ดอกเฟื่องฟ้า

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ภูเก็ต

ชื่อดอกไม้

ดอกเฟื่องฟ้า

ชื่อสามัญ

Bougainvillea, Peper Flower, Kertas

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bougainvillea spp.

วงศ์

NYCTAGINACEAE

ชื่ออื่น

ตรุษจีน, ดอกต่างใบ, ดอกกระดาษ

ลักษณะทั่วไป

เฟื่องฟ้าเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางประเภทเถาเลื้อย ลำต้นมีความยาวประมาณ 1–10 เมตร มีลำเถาแข็งแรงเลื้อยไปได้ไกล ลำต้นมีหนามติดอยู่เป็นระยะๆ ลักษณะทรงพุ่มตัดแต่งได้ บังคับทิศทางการเจริญเติบโตได้ ใบเป็นใบเดี่ยวแตกตามเถา รูปไข่ปลาย ใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ พื้นใบเรียบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อตามส่วนยอด มีกลีบดอกหรือใบประดับ 3 กลีบ ส่วนดอกจะมี ดอกเล็กสีขาว กลีบดอกจะมีขนาดและสีสันแตกต่างกันตามชนิดพันธุ์ ออกดอกตลอดปี โดยเฉพาะในฤดูแล้งจะให้ดอกดกมาก

การขยายพันธุ์

การตอน, การปักชำ, การเสียบยอด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด ทนแล้งได้ดี

ถิ่นกำเนิด

ประเทศบราซิล

ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)
ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม

ดอกไม้ประจำจังหวัดมหาสารคาม-ดอกลั่นทมขาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

มหาสารคาม

ชื่อดอกไม้

ดอกลั่นทมขาว (จำปาขาว)

ชื่อสามัญ

Frangipani

ชื่อวิทยาศาสตร์

Plumeria ssp.

วงศ์

APOCYNACEAE

ชื่ออื่น

ลีลาวดี, จำปาขาว

ลักษณะทั่วไป

ลั่นทมเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง เปลือกลำต้นหนา กิ่งอ่อนดูอวบน้ำ มียางสีขาวเหมือนนม ใบใหญ่สีเขียว ออกดอกเป็นช่อช่อละ หลายดอก ดอกหนึ่งมี 5 กลีบ ดอกมีหลายสีแล้วแต่ละชนิดของพันธุ์ เช่น สีขาว แดง ชมพู เหลือง และสีส้ม ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์

ปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกาใต้

ดอกช้างน้าว
ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร

ดอกไม้ประจำจังหวัดมุกดาหาร-ดอกช้างน้าว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

มุกดาหาร

ชื่อดอกไม้

ดอกช้างน้าว

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Ochna integerrima (Lour.) Merr.

วงศ์

OCHNACEAE

ชื่ออื่น

กระแจะ (ระนอง), กำลังช้างสาร (กลาง), ขมิ้นพระต้น (จันทบุรี), ควุ (กะเหรี่ยง-นครสวรรค์), แง่ง (บุรีรัมย์), ช้างน้าว ตานนกกรด (นครราชสีมา), ช้างโน้ม (ตราด), ช้างโหม (ระยอง), ตาชีบ้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตาลเหลือง (เหนือ), ฝิ่น (ราชบุรี), โว้โร้ (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 3–8 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปใบหอก ขอบใบจักถี่ ใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง 2–8 ดอก มี 5–10 กลีบ สีเหลืองดอกร่วงง่าย มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอก เดือนมกราคม–พฤษภาคม ผลกลม เมื่อแก่เป็นสีดำมัน กลีบเลี้ยงยังคงติดอยู่บนผล แล้วเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นแดง

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง, ตัดชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วน ระบายน้ำดี แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกบัวตอง
ดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน

ดอกไม้ประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน-ดอกบัวตอง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

แม่ฮ่องสอน

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวตอง

ชื่อสามัญ

Mexican Sunflower Weed

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tithonia diversifolia (Hemsl.) A. Gray.

วงศ์

COMPOSITAE

ชื่ออื่น

พอหมื่อนี่

ลักษณะทั่วไป

บัวตองเป็นไม้ดอกมีอายุยืนยาวหลายปีสามารถสูงได้ถึง 5 เมตร ออกดอกเป็นช่อเดี่ยวบริเวณปลายกิ่ง มีสีเหลืองคล้าย ดอกทานตะวัน แต่มีขนาดเล็กกว่า ดอกวงนอกเป็นหมัน กลีบดอกเรียวมีประมาณ 12–14 กลีบ ดอกวงในสีเหลืองส้ม เป็นดอกสมบูรณ์เพศ ใบบัวตองเป็นใบเดี่ยว รูปไข่หรือแกมขอบขนาน มีขนขึ้นเล็กน้อยประปราย ปลายใบเว้าลึก 3–5 แฉก

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เม็กซิโก

ดอกบัวแดง
ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร

ดอกไม้ประจำจังหวัดยโสธร-ดอกบัวแดง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ยโสธร

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวแดง

ชื่อสามัญ

Water Lily

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nymphaea lotus Linn.

วงศ์

NYMPHACACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า

สภาพที่เหมาะสม

ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด

ถิ่นกำเนิด


ดอกพิกุล
ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร,ยะลา,ลพบุรี-ดอกพิกุล

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกพิกุล

ชื่อสามัญ

Bullet Wood, Spanish Cherry

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi Linn.

วงศ์

SAPOTACEAE

ชื่ออื่น

กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)

ลักษณะทั่วไป

พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี,ร้อยเอ็ด,ระยอง,อุตรดิตถ์-ดอกประดู่

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ชื่อดอกไม้

ดอกประดู่

ชื่อสามัญ

Angsana, Padauk

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pterocarpus indicus Willd

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

สะโน (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์

ดอกโกมาชุม
ดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง

ดอกไม้ประจำจังหวัดระนอง-ดอกโกมาชุม

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ระนอง

ชื่อดอกไม้

ดอกโกมาชุม

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dendrodium formosum

วงศ์

ORCHIDACEAE

ชื่ออื่น

เอื้องเงินหลวง

ลักษณะทั่วไป

เป็นกล้วยไม้ประเภทอิงอาศัย ลำต้นเจริญทางด้านข้าง มีลำลูกกล้วยตั้งตรง กลมค่อนข้างอ้วน ความยาวประมาณ 30–50 เซนติเมตร ที่กาบใบมีขนสีดำลักษณะใบรูปไข่ยาวรี ยาวประมาณ 10–15 เซนติเมตร ปลายใบมี 2 แฉกไม่เท่ากัน ออกดอกที่ยอด ช่อดอกสั้น ช่อหนึ่งๆ มี 3–5 ดอก กลีบดอกมีสีขาว ปากสีเหลืองส้มโคนปากสอบปลายปากเว้า มีสันนูนสองสันจากโคน ออกมาถึงกลางปาก ขนาดดอกโตประมาณ 10 เซนติเมตร มีกลิ่นหอมอ่อน ออกดอกเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

การขยายพันธุ์

แยกลำ

สภาพที่เหมาะสม

เป็นกล้วยไม้รากอากาศ ชอบอากาศชื้น

ถิ่นกำเนิด

บริเวณที่ราบต่ำและที่ราบสูงในประเทศอินเดีย พม่า เวียตนาม และไทย

ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี,ร้อยเอ็ด,ระยอง,อุตรดิตถ์-ดอกประดู่

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ชื่อดอกไม้

ดอกประดู่

ชื่อสามัญ

Angsana, Padauk

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pterocarpus indicus Willd

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

สะโน (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์

ดอกกัลปพฤกษ์
ดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัดราชบุรี-ดอกกัลปพฤกษ์

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ราชบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกกัลปพฤกษ์

ชื่อสามัญ

Pink Cassia, Pink Shower, Wishing Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cassia bakeriana Craib.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กัลปพฤกษ์ (ภาคกลาง, ภาคเหนือ), กานล์ (เขมร-สุรินทร์), เปลือกขม (ปราจีนบุรี)

ลักษณะทั่วไป

กัลปพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง 5–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปร่ม แผ่กว้าง ใบประกอบขนนก ใบย่อย 5–8 คู่ ใบรูปไข่แกมขอบขนาน หรือแกมใบหอก โคนใบเบี้ยว ใบมีขนนุ่มทั้งสองด้าน ออกดอกเป็นช่อพร้อมใบอ่อนตามกิ่ง มี 5 กลีบ สีชมพู แล้วซีดจนเป็นสีขาวเมื่อใกล้โรย ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์–เมษายน ผลเป็นฝักกลมยาวมีขนนุ่ม สีเทา เมล็ด จำนวนมาก

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ทนแล้งได้ดี

ถิ่นกำเนิด

ไทย ลาว พม่า และเวียดนาม

ดอกพิกุล
ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร,ยะลา,ลพบุรี-ดอกพิกุล

ดอกไม้ประจำจังหวัด

กำแพงเพชร, ยะลา, ลพบุรี

ชื่อดอกไม้

ดอกพิกุล

ชื่อสามัญ

Bullet Wood, Spanish Cherry

ชื่อวิทยาศาสตร์

Mimusops elengi Linn.

วงศ์

SAPOTACEAE

ชื่ออื่น

กุน (ภาคใต้), แก้ว (ภาคเหนือ), ซางดง (ลำปาง), พิกุลป่า (สตูล), พิกุลเขา พิกุลเถื่อน (นครศรีธรรมราช), พิกุล (ทั่วไป)

ลักษณะทั่วไป

พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า และมาเลเซีย

ดอกธรรมรักษา
ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง

ดอกไม้ประจำจังหวัดลำปาง-ดอกธรรมรักษา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ลำปาง

ชื่อดอกไม้

ดอกธรรมรักษา

ชื่อสามัญ

Heliconia

ชื่อวิทยาศาสตร์

Heliconia spp.

วงศ์

HELICONIACEAE

ชื่ออื่น

ก้ามกุ้ง

ลักษณะทั่วไป

ธรรมรักษาเป็นพรรณไม้ล้มลุก อวบน้ำ มีลำต้นใต้ดิน เรียกว่า เหง้า ลักษณะคล้ายกับกล้วย ลำต้นสูงประมาณ 1–2 เมตร เจริญเติบโตโดยการแตกหน่อออกมาเป็นกอ ลักษณะใบคล้ายใบกล้วย เรียงสลับกัน มีสีเขียว ผิวเรียบเป็นมัน ขนาดของใบ ขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์ ออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้น ลักษณะช่อดอกตั้งและห้อยลงแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ในแต่ละช่อดอกมี 4–8 ดอก ดอกมีสีส้ม แดง เหลือง และชมพู ผลคือส่วนของดอกเมื่อแก่ก็จะกลายเป็นเมล็ด

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, แยกกอ, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดรำไร จนถึงแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกาใต้

ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่,ลำพูน,อำนาจเจริญ,อุดรธานี-ดอกทองกวาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกทองกวาว

ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)

ลักษณะทั่วไป

ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย

ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย
ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย

ดอกไม้ประจำจังหวัดเลย-ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เลย

ชื่อดอกไม้

ดอกรองเท้านารีเหลืองเลย

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Paphiopedilum hirsutissimum

วงศ์

ORCHIDACEAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

เป็นกล้วยไม้แบบ sympodial แบบไม่มีลำลูกกล้วย ระบบรากเป็นแบบรากกึ่งดิน ออกเป็นกระจุกที่โคนต้นและมักทอดไปทางด้านราบมาก กว่าหยั่งลึกลงไปในดิน ใบรูปขอบขนาน ออกดอกเดี่ยว กว้างประมาณ 8 ซม. ก้านดอกยาวและตั้งตรงสีเขียว มีขนสั้นสีม่วงแดงจำนวนมาก กลีบเลี้ยงบนรูปไข่กลับ โคนกลีบสีน้ำตาลอมเหลือง ปลายกลีบสีเขียว กลีบดอกรูปแถบแกมรูปไข่กลับ โคนสีเขียว ปลายสีม่วงอมชมพู ขอบ ด้านบนหยักเป็นคลื่น มีขนปกคลุมทั่วทั้งกลีบ กลีบปากเป็นถุงลึก สีเหลืองอมเขียวมีจุดเล็กๆ สีน้ำตาล ออกดอกช่วงเดือนธันวาคมถึงมีนาคม

การขยายพันธุ์

แยกหน่อ

สภาพที่เหมาะสม

เติบโตได้ดีในที่มีอากาศเย็น

ถิ่นกำเนิด

ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แถบจังหวัดเพชรบูรณ์ เลย และชัยภูมิ

ดอกลำดวน
ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ

ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ-ดอกลำดวน

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ศรีสะเกษ

ชื่อดอกไม้

ดอกลำดวน

ชื่อสามัญ

Lamdman, Devil Tree, White Cheesewood

ชื่อวิทยาศาสตร์

Melodorum fruticosum Lour.

วงศ์

ANNONACEAE

ชื่ออื่น

ลำดวน (ภาคกลาง), หอมนวล (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ลำดวนเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ผิวเปลือกลำต้นเป็นสีเทา ผิวต้นเรียบ มีรอยแตกเล็กน้อยแตก ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับกันตามข้อ ลำต้น ใบเป็นรูปหอก ยาวรี ปลายใบแหลม โคนใบมนแหลม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ผิวใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ดอกเป็นดอกเดี่ยวออกตามส่วนยอด และตามง่ามใบ มีกลีบดอก 6 กลีบ ซ้อนกันเป็นชั้น ปลายกลีบแหลม โคนกลีบดอกกว้าง ดอกมีขนาดเล็กสีเหลือง กลิ่นหอมเย็น ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น

ถิ่นกำเนิด

ประเทศแถบอินโดจีน

ดอกอินทนิลน้ำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร

ดอกไม้ประจำจังหวัดสกลนคร-ดอกอินทนิลน้ำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สกลนคร

ชื่อดอกไม้

ดอกอินทนิลน้ำ

ชื่อสามัญ

Queen’s Flower, Queen’s Crape Myrtle, Pride of India

ชื่อวิทยาศาสตร์

Lagerstroemia speciosa Pers.

วงศ์

LYTHRACEAE

ชื่ออื่น

ฉ่วงมู (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ตะแบกดำ (กรุงเทพฯ), บางอ บะซา (มลายู-ยะลา, นราธิวาส), บาเอ บาเย (ปัตตานี), อินทนิล (ภาคกลาง), อินทนิลน้ำ (ภาคกลาง, ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูง 10–15 เมตร ลำต้นเปลาตรง เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ผิวเปลือกนอกสีเทา ใบเป็นใบเดี่ยว รูปรีหรือรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบมน ดอกย่อยขนาดใหญ่ กลีบดอกสีชมพู สีม่วงแกมชมพู หรือสีม่วง ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน ผลเป็นผลแห้ง มีขนาดใหญ่

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง

ถิ่นกำเนิด

ที่ราบลุ่มริมน้ำ ป่าเบญจพรรณชื้นและป่าดิบทั่วไป

ดอกสะเดาเทียม
ดอกไม้ประจำจังหวัดสงขลา

ดอกไม้ประจำจังหวัดสงขลา-ดอกสะเดาเทียม

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สงขลา

ชื่อดอกไม้

ดอกสะเดาเทียม

ชื่อสามัญ

ชื่อวิทยาศาสตร์

Azadirachta excelsa (Jack) Jacobs

วงศ์

MELIACEAE

ชื่ออื่น

ต้นเทียม ไม้เทียม สะเดาช้าง สะเดาเทียม สะเดาใบใหญ่ (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นสูงตรงไม่มีกิ่งขนาดใหญ่ เมื่ออายุน้อยเปลือกต้นเรียบ เมื่ออายุมากเปลือกจะแตกเป็นแผ่นล่อนสีเทาปนดำ เรือนยอดเป็นพุ่มกลมทึบ ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย ใบเบี้ยวไม่ได้สัดส่วน ปลายใบแหลมเป็นติ่ง ฐานใบเบี้ยวไม่เท่ากัน เนื้อใบหนา เกลี้ยง สีเขียวเป็นมัน ออกดอกเป็นช่อตามง่ามใบหรือปลายกิ่ง ดอกบานสีขาว ออกดอกช่วงเดือนมีนาคม ผลทรงกลมรี ผลแก่สีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ดในถุงเพาะกล้าจนงอก และแข็งแรงก่อนจึงย้ายไปปลูกลงดิน

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนปนทราย มีการระบายน้ำและอากาศได้ดี

ถิ่นกำเนิด

ตามเรือกสวนไร่นา แถบภาคใต้ของประเทศไทย

ดอกกาหลง
ดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล

ดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล-ดอกกาหลง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สตูล

ชื่อดอกไม้

ดอกกาหลง

ชื่อสามัญ

Galaong, Snowy Orchid Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Bauhinia acuminata Linn.

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

เสี้ยวดอกขาว, ส้มเสี้ยว, เสี้ยวน้อย

ลักษณะทั่วไป

กาหลงเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบเป็นใบไม้แฝดออกสลับกันไปตามต้น ดอกขาวใหญ่ ดอกเป็นช่อมีกลิ่นหอมเล็กน้อย ดอกมี 6 กลีบ ซ้อนเหลื่อมกัน ช่อหนึ่งออกดอกประมาณ 5-8 ดอก ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย

ถิ่นกำเนิด

ประเทศอินเดีย, เอเซียตะวันออกเฉียงใต้

ดอกดาวเรือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ

ดอกไม้ประจำจังหวัดสมุทรปราการ-ดอกดาวเรือง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สมุทรปราการ

ชื่อดอกไม้

ดอกดาวเรือง

ชื่อสามัญ

Marigold

ชื่อวิทยาศาสตร์

Tagetes erecta Linn.

วงศ์

COMPOSITAE

ชื่ออื่น

ลักษณะทั่วไป

ดาวเรืองเป็นไม้ล้มลุกทรงพุ่มอายุสั้นหรือหลายปี มีความสูงตั้งแต่ 30–60 ซม. ใบมีลักษณะเป็นใบประกอบเหมือนขนนก ออกตรงข้ามกัน ใบย่อยรูปรีหรือรูปหอกแกมขอบขนาน โคนใบสอบ ปลายใบแหลม ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวกระจุกอยู่ปลายยอด สีเหลืองหรือสีส้ม กลีบดอกวงนอกมีลักษณะเป็นรูปรางน้ำ โคนดอกเป็นหลอดเล็ก ปลายดอกเป็นรอยหยัก กลิ่นหอมฉุน

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดี แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

เม็กซิโก และสหรัฐอเมริกา

ดอกแก้ว
ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว

ดอกไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว-ดอกแก้ว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สระแก้ว

ชื่อดอกไม้

ดอกแก้ว

ชื่อสามัญ

Orang Jessamine

ชื่อวิทยาศาสตร์

Murraya paniculata

วงศ์

RUTACEAE

ชื่ออื่น

แก้ว, แก้วขาว (ภาคกลาง), แก้วขี้ไก่ (ยะลา), แก้วพริก, ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางสูงประมาณ 5–10 เมตร ทรงพุ่มไม่เป็นระเบียบ ใบออกเป็นช่อ เป็นแผงเรียงสลับกัน ใบเป็นมันสีเขียวเข้ม ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ออกดอกเป็นช่อใหญ่ ช่อสั้น ออกตามปลายกิ่ง กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่ขนาด 2–3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รี ปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1–2 เมล็ด

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด, ตอนกิ่ง

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

จีน, ญี่ปุ่น, เกาหลี, อินเดีย และภูมิภาคอินโดจีน

ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก,บุรีรัมย์,สระบุรี,สุพรรณบุรี,อุทัยธานี-ดอกสุพรรณิการ์,ดอกฝ้ายคำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกสุพรรณิการ์

ชื่อสามัญ

Yellow Cotton Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.

วงศ์

BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)

ชื่ออื่น

ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี,พิจิตร,สุโขทัย,หนองบัวลำภู,อุบลราชธานี-ดอกบัวหลวง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวหลวง

ชื่อสามัญ

Nelumbo nucifera

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nymphaea lotus Linn.

วงศ์

NYMPHACACEAE

ชื่ออื่น

บุณฑริก, สัตตบงกช

ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า

สภาพที่เหมาะสม

ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด

ถิ่นกำเนิด

แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก,บุรีรัมย์,สระบุรี,สุพรรณบุรี,อุทัยธานี-ดอกสุพรรณิการ์,ดอกฝ้ายคำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกสุพรรณิการ์

ชื่อสามัญ

Yellow Cotton Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.

วงศ์

BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)

ชื่ออื่น

ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ดอกบัวผุด
ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี-ดอกบัวผุด

ดอกไม้ประจำจังหวัด

สุราษฎร์ธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวผุด

ชื่อสามัญ

Sapria Himalayana

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sapria himalayana Griff.

วงศ์

RAFFLESIACEAE

ชื่ออื่น

กระโถนฤาษี, บัวตูม, บัวสวรรค์

ลักษณะทั่วไป

เป็นพืชกาฝากที่อาศัยน้ำเลี้ยงจากรากของเถาวัลย์น้ำอย่าง ส้มกุ้ง หรือ เครือเขาน้ำ ไม่มีใบ ไม่มีลำต้น มีเพียงดอกสีแดงประแต้มเหลืองใหญ่ราว 10 ซม. โผล่ขึ้นมาจากดินเท่านั้น

การขยายพันธุ์

สภาพที่เหมาะสม

เป็นพืชเบียนที่อาศัยอยู่บนรากไม้อื่น เช่น ส้มกุ้ง เครือเขาน้ำ

ถิ่นกำเนิด

อินโด-มาลายา ในไทยพบตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี ตั้งแต่ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา และ สุราษฎร์ธานี

ดอกกันเกรา
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม, สุรินทร์

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครพนม,สุรินทร์-ดอกกันเกรา

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครพนม, สุรินทร์

ชื่อดอกไม้

ดอกกันเกรา

ชื่อสามัญ

Anan, Tembusu

ชื่อวิทยาศาสตร์

Fagraea fragrans Roxb.

วงศ์

LOGANIACEAE

ชื่ออื่น

กันเกรา (ภาคกลาง), ตะมะซู ตำมูซู (มลายู-ภาคใต้), ตาเตรา (เขมร-ภาคตะวันออก), ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้), มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูงประมาณ 20–30 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดรูปไข่หรือรูปกรวยคว่ำ หนาทึบ ใบเดี่ยว รูปรีหรือแกมใบหอก สีเขียวเข้มเป็นมัน ใต้ใบสีอ่อน ออกดอกเป็นช่อจำนวนมากที่ปลายกิ่ง ดอกสีขาว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอมเย็น ลักษณะดอกคล้ายแจกัน ออกดอกตลอดปี

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

เติบโตได้ดีในที่ชื้นแฉะ แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

ป่าเบญจพรรณและตามที่ใกล้แหล่งน้ำใน ประเทศอินเดีย, มาเลเซีย, พม่า, เวียดนาม และประเทศไทย

ดอกชิงชัน
ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย

ดอกไม้ประจำจังหวัดหนองคาย-ดอกชิงชัน

ดอกไม้ประจำจังหวัด

หนองคาย

ชื่อดอกไม้

ดอกชิงชัน

ชื่อสามัญ

Rosewood

ชื่อวิทยาศาสตร์

Dalbergia oliveri Gamble

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

ชิงชัน ประดู่ชิงชัน (ภาคกลาง), ดู่สะแดน (เหนือ)

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ยืนต้นผลัดใบสูง 15–25 เมตร เปลือกสีน้ำตาลอมเทาล่อนเป็นแว่น ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยเรียงสลับ แผ่นใบรูปรีแกมรูปไข่ โคนใบและปลายใบมน ท้องใบสีจางกว่าหลังใบ ดอกขนาดเล็ก สีขาวแกมม่วง ผลเป็นฝักแบน รูปหอก หัวท้ายแหลม

การขยายพันธุ์

เพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทุกชนิด เป็นไม้กลางแจ้ง ต้องการน้ำปานกลาง

ถิ่นกำเนิด

ป่าดิบแล้งและป่าเบญจพรรณทั่วไป ยกเว้นภาคใต้

ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี,พิจิตร,สุโขทัย,หนองบัวลำภู,อุบลราชธานี-ดอกบัวหลวง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวหลวง

ชื่อสามัญ

Nelumbo nucifera

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nymphaea lotus Linn.

วงศ์

NYMPHACACEAE

ชื่ออื่น

บุณฑริก, สัตตบงกช

ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า

สภาพที่เหมาะสม

ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด

ถิ่นกำเนิด

แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย

ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่,ลำพูน,อำนาจเจริญ,อุดรธานี-ดอกทองกวาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกทองกวาว

ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)

ลักษณะทั่วไป

ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย

ดอกทองกวาว
ดอกจานเหลือง
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงใหม่,ลำพูน,อำนาจเจริญ,อุดรธานี-ดอกทองกวาว

ดอกไม้ประจำจังหวัด

เชียงใหม่, ลำพูน, อำนาจเจริญ, อุดรธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกทองกวาว

ชื่อสามัญ

Flame of the forest, Bastard Teak, Bengal kinotree, Kino tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Butea monosperma

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

กวาว ก๋าว (ภาคเหนือ), จอมทอง (ภาคใต้), จ้า (เขมร), ทองธรรมชาติ ทองพรหมชาติ ทองต้น (ภาคกลาง), ดอกจาน (อิสาน)

ลักษณะทั่วไป

ทองกวาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูงประมาณ 10–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดรูปทรงไม่แน่นอน ส่วนใหญ่จะกลม หรือเป็นทรงกระบอก ใบประกอบมี 3 ใบ ขนาดไม่เท่ากัน ใบหนาและมีขน ใต้ใบสีเขียวอมเทา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง คล้ายดอกถั่ว สีแสดแดงหรือเหลือง มีขน ออกดอก เดือนธันวาคม–มีนาคม ผลเป็นฝักแบน มีขนนุ่ม เมล็ด 1 เมล็ดอยู่ที่ปลายฝัก

การขยายพันธุ์

การเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนซุย แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย

ดอกประดู่
ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ดอกไม้ประจำจังหวัดชลบุรี,ร้อยเอ็ด,ระยอง,อุตรดิตถ์-ดอกประดู่

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ชลบุรี, ร้อยเอ็ด, ระยอง, อุตรดิตถ์

ชื่อดอกไม้

ดอกประดู่

ชื่อสามัญ

Angsana, Padauk

ชื่อวิทยาศาสตร์

Pterocarpus indicus Willd

วงศ์

LEGUMINOSAE

ชื่ออื่น

สะโน (ภาคใต้)

ลักษณะทั่วไป

ลำต้นสูง 10–20 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลมหรือรูปเจดีย์เตี้ย แผ่กว้าง หนาทึบ ใบประกอบขนนก รูปไข่ เรียบหนา ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง มี 5 กลีบ สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ดอกบานแล้วร่วงพร้อมๆ กัน ออกดอกช่วงเดือน เมษายน-สิงหาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด

สภาพที่เหมาะสม

ดินทั่วไป ชอบแสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อินเดีย, พม่า, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์

ดอกสุพรรณิการ์
ดอกฝ้ายคำ
ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดนครนายก,บุรีรัมย์,สระบุรี,สุพรรณบุรี,อุทัยธานี-ดอกสุพรรณิการ์,ดอกฝ้ายคำ

ดอกไม้ประจำจังหวัด

นครนายก, บุรีรัมย์ , สระบุรี, สุพรรณบุรี, อุทัยธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกสุพรรณิการ์

ชื่อสามัญ

Yellow Cotton Tree

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cochlospermum regium (Mart. & Schrank) Pilg.

วงศ์

BIXACEAE (COCHLOSPERMACEAE)

ชื่ออื่น

ฝ้ายคำ (ภาคเหนือ), สุพรรณิการ์ (ภาคกลาง)

ลักษณะทั่วไป

ต้นสูง 7–15 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดค่อนข้างกลม ใบเดี่ยว รูปหัวใจหรือทรงกลม ใบจักเป็นแฉกแหลมลึก 3–5 แฉก ก้านใบยาวสีแดงอมน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง สีเหลือง ออกดอกช่วง เดือนธันวาคม-มีนาคม

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ

สภาพที่เหมาะสม

ดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย อากาศเย็น แสงแดดจัด

ถิ่นกำเนิด

อเมริกากลาง และอเมริกาใต้

ดอกบัวหลวง
ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ดอกไม้ประจำจังหวัดปทุมธานี,พิจิตร,สุโขทัย,หนองบัวลำภู,อุบลราชธานี-ดอกบัวหลวง

ดอกไม้ประจำจังหวัด

ปทุมธานี, พิจิตร, สุโขทัย, หนองบัวลำภู, อุบลราชธานี

ชื่อดอกไม้

ดอกบัวหลวง

ชื่อสามัญ

Nelumbo nucifera

ชื่อวิทยาศาสตร์

Nymphaea lotus Linn.

วงศ์

NYMPHACACEAE

ชื่ออื่น

บุณฑริก, สัตตบงกช

ลักษณะทั่วไป

เป็นพรรณไม้น้ำประเภทพืชล้มลุก มีลำต้นและหัวอยู่ในดินใต้น้ำ การเจริญชูก้านใบและดอกขึ้นมาบนผิวน้ำ ใบมีลักษณะกลมกว้างใหญ่ ผิวใบเรียบ สีเขียวขอบน้ำตาล ดอกเป็นกลีบซ้อนกันหลายชั้น มีสีขาว ชมพู เหลือง ลักษณะ สีสัน ขนาดของใบและดอกขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์

การขยายพันธุ์

โดยการเพาะเมล็ด แยกกอจากหัวหรือเหง้า

สภาพที่เหมาะสม

ดินเหนียว ดินนา ดินผสมอินทรีย์ ต้องการน้ำมากเพราะเป็นพืชเจริญในน้ำ แสงแดดอ่อน จนถึง แดดจัด

ถิ่นกำเนิด

แถบทวีปเอเชีย เช่น ประเทศจีน อินเดีย และไทย